วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555


วงจรวัดอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate Monitor) แบบราคาประหยัด

สัญญาณชีพจรมีความสำคัญในการวิเคราะห์สภาวะปัจจุบันของตัวมนุษย์ ทั้งด้านปริมาณการเต้นของหัวใจและลักษณะของสัญญาณชีพจรที่วัดได้ การสร้างวงจรวัดสัญญาณชีพจรอย่างง่ายและราคาถูก เพื่อมีไว้ใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ความผิดปกติการเต้นของหัวใจ……..
Heart rate หมายถึง อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate) คือ จำนวนครั้งของการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ ในระยะเวลา 1 นาที (bpm) โดยสามารถแสดงกลไกการทำงานและสัญญาณชีพจรได้ ดังรูปที่1
 

รูปที่1. แสดงการกลไกทำงานของหัวใจที่กำเนิดสัญญาณชีพจร
สัญญาณชีพจรมีความสำคัญในการวิเคราะห์สภาวะปัจจุบันของตัวมนุษย์ ทั้งด้านปริมาณ(จำนวนการเต้นของหัวใจ) และคุณภาพ (ลักษณะของสัญญาณชีพจรที่วัดได้) ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมานี้มีประโยชน์ในการนำไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์การกีฬา ในโครงงานนี้จะอธิบายถึงการสร้างวงจรวัดสัญญาณชีพจรอย่างง่าย ช่วงระยะห่างของสัญญาณที่วัดได้มีประโยชน์ในการวิเคราะห์ความผิดปกติการเต้นของหัวใจ สัญญาณชีพจรแสดงดังรูปที่1. คือ สัญญาณชีพจรเกิดขึ้นจากการบีบและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ โดยลักษณะของการเต้นของหัวใจสามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ
- หัวใจห้องบนบีบตัว เพื่อส่งเลือดมายังหัวใจช่องล่าง (สัญญาณ P)
- หัวใจช่องล่างบีบตัวทำให้เลือดไหลออกจากหัวใจ (QRS)
- ช่วงที่หัวใจช่องล่างคลายตัว (สัญญาณT)
กลไกการทำงานของหัวใจจากรูปที่1. มีลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ
1.             เลือดเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาโดยหลอดเลือดดำ (Vena Cava)
2.              เลือดเข้าสู่หัวใจห้องล่างขวาผ่านลิ้น Tricuspid
3.             เลือดที่มี O2 ต่ำถูกส่งไปฟอกที่ปอด
4.             เลือดที่มี O2 สูงจากปอด ส่งกลับมาที่หัวใจห้องบนซ้าย
5.             เลือดถูกส่งจากหัวใจห้องบนซ้ายมายังหัวใจห้องล่างซ้าย
6.             เลือดถูกส่งจากหัวใจห้องล่างซ้ายเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
วัดโดยการตรวจคลำชีพจรแบบทั่วไป
หลักการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งตรวจวัดจากการอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินจากชีพจร โดยการวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในหลอดเลือดแดง (Arterial Oxygen Saturation) โดยอาศัยการดูดซับคลื่นแสงที่แตกต่างกันของฮีโมโกลบินที่จับตัวกับออกซิเจน (Oxyhemoglobin, HbO2) และฮีโมโกลบินที่ไม่เกิดการจับตัวกับออกซิเจน (Deoxyhemeglobin หรือ Reduced Hemoglobin, HbR) สำหรับ HbO2 จะดูดซับคลื่นแสงช่วงความยาวคลื่นแสงในช่วงความยาวคลื่น 850-1,000 นาโนเมตร (คลื่นอินฟาเรด) ดังนั้น เมื่อหัวใจเกิดการบีบตัวและคลายตัว จึงทำให้สัญญาณชีพจรที่เกิดขึ้นถ่ายทอดมายังประมาณเลือด ซึ่งสามารถตรวจจับสัญญาณได้ โดยการใช้หลอด LED อินฟาเรด (Ultra bright Led) ส่องไปยังเลือดที่แสงสามารถเข้าถึงและทะลุผ่านได้  อัตราเต้นของชีพจร (Arterial Pulse Rate) โดยทั่วไปจะเท่ากับอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate) ในคนปกติ สามารถวัดอัตราเต้นของชีพจรได้ โดยการคลำบริเวณที่สามารถพบเส้นเลือดแดงได้อย่างชัดเจน เช่น บริเวณข้อมือ บริเวณมุมของขากรรไกร บริเวณขมับ เป็นต้น
(ที่มา The Best of Project เซมิฯ ปี2553 ฉบับที่ 339-352)
 
รูปที่2. แสดงการตรวจจับการเต้นของเส้นเลือดแดงที่ขากรรไกรและข้อมือ
อัตราการเต้นของชีพจรของคนปกติในแต่ละวัย
ทารกแรกเกิด ถึง 1 เดือน                ประมาณ        120-160 bpm
1-12 เดือน                                                  ประมาณ        80 140 bpm
12-2 ปี                                                       ประมาณ        80 130 bpm
2 – 6 ปี                                                      ประมาณ        75 120 bpm
6 – 12 ปี                                                     ประมาณ        75 110 bpm
วัยรุ่น-วัยผู้ใหญ่                                           ประมาณ        60 100 bpm
ข้อสังเกต: เมื่อเราเจริญวัยมากขึ้น อัตราการเต้นของสัญญาณชีพจรจะมีค่าต่ำลงเรื่อยๆ
อุปกรณ์เซนเซอร์และวงจรวัดอัตราการเต้นของหัวใจ
เมื่อผู้อ่านที่เคยไปโรงพยาบาลจะสังเกตเห็นอุปกรณ์ตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ โดยอาศัยหลักการตรวจวัดการอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินจากชีพจร โดยการดูดซับคลื่นแสงที่แตกต่างกันของฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจน (HbO2)  กับการที่ออกซิเจนไม่เกิดการจับตัว (HbR) อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจจับดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกว่า “Finger Clip” แสดงการใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวนี้ ได้ดังรูปที่3
 
รูปที่3. แสดงการใช้งาน Finger Clip และตัวเซ็นเซอร์ในการตรวจจับอัตราการเต้นของหัวใจ
การสร้างและประกอบของ Finger Clip ผู้อ่านสามารถใช้อุปกรณ์ที่หาง่ายและราคาประหยัด ซึ่งอาจใช้ไม้หนีบผ้าแบบพลาสติกที่มีความคงทนแข็งแรงนำมาเจาะรูทางด้านบนและด้านล่าง ดังรูปที่ 4 (A). จากนั้น นำหลอดไดโอดทั้งตัวส่งและตัวรับมาติดตั้งเข้ากับไม้หนีบผ้า เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยให้ตั้งย่านวัดมัลติมิเตอร์แบบเข็มที่ R X 1 วัดไบแอสตรงที่ตัวไดโอดอินฟาเรด จากนั้น จะสังเกตการทำงานด้วยการใช้กล้องถ่ายภาพขณะที่วัด จะสังเกตเห็นแสงอินฟาเรด ดังรูปที่ 4 (B).
รูปที่4. (A),(B) แสดงการติดตั้ง LED ตัวส่งและรับกับการทดสอบแสงอินฟาเรด ตามลำดับ
การทำงานของวงจร
รูปที่5. แสดงวงจรการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ
รูปที่7.  แสดงสัญญาณชีพจรที่วัดได้และวงจรที่ใช้ในการวัดและทดสอบ
เพียงเท่านี้ ผู้อ่านก็สามารถวัดสัญญาณชีพจรที่วัดได้จากการวงจรวัดสัญญาณชีพจรอย่างง่ายและราคาถูก เพื่อมีไว้ใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ความผิดปกติเบื้องต้น(เท่านั้น) การเต้นของหัวใจ……..


 


 

3 ความคิดเห็น:

  1. ผมอยากได้เครื่องวัดชีพจรหัวใจเครื่องนี้ครับ เเต่ว่า พี่ช่วยทำให้เครื่องเตือนเมื่อหัวใจผิดปกติด้วยได้รึป่าว ยังไงพี่ีก็ช่วยตอบมาอีเมล์ ผมด้วยนะครับ saeloor_woodtichai@hotmail.com

    ตอบลบ
  2. ขอสอบถามข้อมูลการทำงานของเครื่องค่ะ เนื่องจากลูกทำproject แต่หาคำตอบไม่ได้ว่าเครื่องมีกลไกการจัดการกับข้อมูลก่อนอ่านมาเป็นกราฟชีพจรอย่างไร และมีข้อมูลอะไรบ้างที่รับมา ขอความอนุเคราะห์หน่อยค่ะ jureeko.416@gmail.com รอคำตอบอยู่ค่ะ

    ตอบลบ
  3. ขอสอบถามข้อมูลการทำงานของเครื่องค่ะ เนื่องจากลูกทำproject แต่หาคำตอบไม่ได้ว่าเครื่องมีกลไกการจัดการกับข้อมูลก่อนอ่านมาเป็นกราฟชีพจรอย่างไร และมีข้อมูลอะไรบ้างที่รับมา ขอความอนุเคราะห์หน่อยค่ะ jureeko.416@gmail.com รอคำตอบอยู่ค่ะ

    ตอบลบ